นิติบุคล มีหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรและพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ดังต่อไปนี้
1. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
2. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้าเข้าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด)
3. กำหนดรอบระยะเวลาบัญชี เช่น สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ,30 มิถุนายน...
4. ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
5. จัดหาผู้ทำบัญชี และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
6. จัดทำบัญชีตาม ชนิดของบัญชีที่กฎหมายกำหนด
7. ปิดงบการเงินประจำปี
8. จัดทำงบการเงินตามรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
9. จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชี
10.ตรวจสอบการแจ้งรายชื่อธุรกิจของผู้ตรวจสอบบัญชี
11. นำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อกรมสรรพากร
หน้าที่ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน |
1. ต้องจัดให้มี "ผู้ทำบัญชี" ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของ นิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำ บัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่ 3.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป 3.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ 3.3 บัญชีสินค้า 3.4 บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ "ผู้ทำบัญชี" ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4. จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
5. จัดทำงบการเงิน อย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะ ต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่ง คนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนา ธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน (สำหรับห้างหุ้นส่วน ต้องจัดทำงบการเงินยื่นภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี) ทั้งนี้รวมถึง บริษัท และ ห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
7. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (เฉพาะกรณีบริษัทจำกัด) ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
8. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
9. ต้องจัดทำใบหุ้น (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
10. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
11. การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชี ในกรณีที่ บริษัท จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ท ี่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
|